ขั้นตอนการทำงานแบบดิจิทัลช่วยส่งเสริมกลยุทธ์รักษาพนักงานได้อย่างไร

ในโลกที่ผันผวนอย่างยิ่งเช่นทุกวันนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ตลาดหางานนั้นจะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และนั่นก็ยิ่งทำให้การรักษาพนักงานกลายเป็นอีกหนึ่งในประเด็นที่ผู้บริหารต้องแบกรับ ในช่วงสองปีมานี้ เราได้เห็นทั้งการลาออกครั้งใหญ่ (Great Resignation) และความเสียใจครั้งใหญ่ (Great Regret) สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในโลกการทำงาน และคุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่ากลยุทธ์รักษาพนักงานนั้นจะประสบความสำเร็จในการสร้างความมั่นคงด้านพนักงาน

How organisations hope to increase employee experience in 2023 and beyond

ในขณะที่เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานและความคาดหวังของพนักงาน บริษัทก็หันมาให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของพนักงานผ่านโครงการริเริ่มที่ช่วยสนับสนุนผู้คนและวัฒนธรรม สิ่งสำคัญที่สุดที่บริษัทสนใจก็คือการพัฒนาโซลูชันเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมให้ใช้งานง่ายขึ้น ควบคู่ไปกับการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่สิ่งนี้จะช่วยให้บริษัทรักษาพนักงานที่มีฝีมือที่สุดไว้ได้มากน้อยแค่ไหน ถึงแม้ผลตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่ไม่แพ้บริษัทคู่แข่งจะยังคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่บริษัทที่หาวิธียกระดับประสบการณ์ของพนักงานในที่ทำงานนั้นย่อมจะสร้างความยืดหยุ่นของพนักงานได้อย่างยั่งยืนมากกว่าในระยะยาว

อะไรคือวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้รู้สึกว่าการทำงานนั้นไม่ใช่ความทุกข์ยากในแต่ละวันที่ต้องเผชิญ แต่เป็นการมีส่วนร่วมที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพและมีความหมายอย่างแท้จริง ขอแนะนำขั้นตอนการทำงานดิจิทัลพร้อมระบบอัตโนมัติที่จะเข้ามาช่วยจัดการงานที่สิ้นเปลืองเวลา ซึ่งจะช่วยให้พนักงานมีเวลาไปแก้ปัญหาที่ซับซ้อนผ่านการทำงานด้านประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจที่มีต่องานที่สูงขึ้น
ดาวน์โหลดเอกสารนวัตกรรมบทที่ 3

ทำให้กระบวนการสอดคล้องกันและมอบอำนาจให้พนักงาน

เมื่อพนักงานรู้สึกว่างานนั้นไม่ท้าทายและขาดแรงบันดาลใจ การต้องทำงานซ้ำๆ ก็กลายเป็นเรื่องน่าเบื่อและลาออกไปในที่สุด จากผลการสำรวจโดย Korn Ferry พบว่าความเบื่อหน่ายนั้นเป็นเหตุผลอันดับแรกที่ทำให้พนักงานมองหาโอกาสใหม่ๆ ยิ่งไปกว่านั้น “การเลิกทำงานเกินหน้าที่” และ “การอยู่นิ่งๆ” ก็กลายเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป บริษัทจึงจำเป็นต้องทำให้พนักงานหันกลับมามีส่วนร่วมและกระตุ้นพนักงานด้วยการยกระดับ EX ในการทำงานประจำวัน

How technology impacts employee experience

ถึงแม้ว่าอาจต้องมีการลงทุนในขั้นแรกเริ่มด้านโซลูชันดิจิทัล แต่เมื่อพิจารณาในระยะยาวแล้ว ก็จะพบว่าการลงทุนตั้งแต่แรกนั้นจะมีความยั่งยืนมากกว่าการต้องว่าจ้างพนักงานใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
เคล็ดลับ: ลองพิจารณาผลการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานประจำปีของคุณ เพื่อพิจารณาว่าทีมใดที่มีคะแนนต่ำ ทั้งในแง่ของความพึงพอใจและประสิทธิภาพการทำงาน เริ่มต้นเส้นทางการปฏิรูปทางดิจิทัลของคุณ (หากยังไม่ได้เริ่มไปแล้ว) กับทีมที่ว่านี้และวัดผลลัพธ์ที่ได้

1. ระบุกระบวนการในขั้นตอนการทำงานปัจจุบันที่สิ้นเปลืองเวลาและแรงงานของพนักงานมากที่สุด
2. ให้พนักงานร่วมมือและเลือกวิธีในการทำให้กระบวนการสอดคล้องกันและทำงานให้เป็นระบบอัตโนมัติ

ยกระดับการมองเห็นและความโปร่งใส

พนักงานทั่วทั้งภูมิภาคต้องการความยืดหยุ่นในการเลือกได้ว่าจะทำงานที่ไหนและเมื่อไหร่ 66% ของพนักงานในเอเชียแปซิฟิกชอบรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดมากกว่า โดยมีเพียง 15% เท่านั้นที่อยากกลับไปทำงานในออฟฟิศแบบเจาะจงวันตายตัว

อย่างไรก็ดี การที่จะทำให้การทำงานแบบไฮบริดเป็นรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับทั้งนายจ้างและผู้บริหารองค์กรนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องมีก็คือความไว้วางใจและความโปร่งใส เราสามารถยกระดับความโปร่งใสทั่วทั้งองค์กรได้ด้วยการนำเอาขั้นตอนการทำงานแบบดิจิทัลและการทำงานบนคลาวด์มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการที่พนักงานจะต้องรอให้หัวหน้าอนุมัติหรือเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์แก้ปัญหาให้ลูกค้าได้หรือไม่

ความโปร่งใสนี้จะเป็นประโยชน์กับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง นายจ้างสามารถมองเห็นได้ว่าพนักงานทำงานหรือไม่ ในขณะที่ลูกจ้างก็เห็นได้ว่างานของตนนั้นมีส่วนส่งเสริมความสำเร็จของบริษัทอย่างไรบ้าง เมื่อสามารถมองเห็นการมีส่วนร่วมได้ ก็จะนำไปสู่ความรู้สึกภาคภูมิใจทั้งในแง่ของความสำเร็จส่วนบุคคลและของบริษัทไปพร้อมๆ กัน และเสริมสร้างความยืดหยุ่นของพนักงานให้ยิ่งแข็งแกร่ง

มอบดาต้าแบบเรียลไทม์และข้อมูลเชิงลึกเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจ

การก้าวสู่ระบบดิจิทัลและขั้นตอนการทำงานแบบดิจิทัลจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรของคุณด้วยการปลกล็อกดาต้าและข้อมูลที่เคยอยู่แต่ในรูปแบบกระดาษ พนักงานจึงสามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างสะดวกง่ายดาย แทนที่จะต้องกลับไปที่สำนักงานเพื่อดูเอกสารในกระดาษ

เมื่อเข้าถึงข้อมูลได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส พนักงานก็สามารถตัดสินใจได้รวดเร็วขึ้นและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้น ก็ยังจะสามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้เร็วขึ้น และการแก้ปัญหาที่เร็วขึ้นนี้ก็จะนำไปสู่ประสิทธิภาพด้านการบริการ SLA ที่ดีขึ้นด้วย

ยกระดับประสบการณ์ลูกค้า (CX) ด้วยขั้นตอนการทำงานแบบดิจิทัล

ความสามารถในการปรับขยายและการปรับเปลี่ยน

เมื่อคุณนำเอาขั้นตอนการทำงานแบบดิจิทัลมาใช้ ก็เท่ากับเป็นการวางรากฐานสำหรับการปฏิรูปทางดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ปรับขนาดและนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อยกระดับกระบวนการให้คุณสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นๆ ที่มีวุฒิภาวะทางดิจิทัลในระดับสูง

ด้วยการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติมาใช้งาน พนักงานก็จะสามารถหันไปมุ่งเน้นกับปัญหาทางธุรกิจที่สำคัญยิ่งกว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือหาวิธีส่งมอบประสบการณ์ลูกค้าที่แปลกใหม่และน่าจดจำ งานประเภทนี้ก็มีความน่าดึงดูดใจและขับเคลื่อนด้วยคุณค่ามากกว่างานที่ต้องทำด้วยตัวเองซ้ำๆ อย่างในอดีตที่ผ่านมา

เคล็ดลับ: เมื่อมีการนำเทคโนโลยีพร้อมอัปเดตใหม่ๆ มาใช้ ก็จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมที่เหมาะสมด้วย ถึงแม้ว่าพนักงานจะมีทักษะทางดิจิทัลอยู่บ้างแล้วก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้น นี่ยังเป็นการส่งสัญญาณให้พนักงานทราบว่าบริษัทนั้นยินดีจะพัฒนาทักษะทางอาชีพเพื่อส่งเสริมให้พวกเขาเจริญเติบโต

ยกระดับการทำงานร่วมกันและการสื่อสารระหว่างสมาชิกทีม

ขั้นตอนการทำงานแบบดิจิทัลช่วยให้การมอบหมายงานในโครงการ การติดตามความก้าวหน้า และความรับผิดชอบนั้นมีความชัดเจน ไม่ว่าทีมของคุณจะทำงานในรูปแบบไหน ขั้นตอนการทำงานแบบดิจิทัลก็จะทำให้มีการระบุเส้นตายและติดตามพัฒนาการของโครงการอย่างใกล้ชิด โดยพนักงานจะสามารถระบุทราบจุดปัญหาติดขัดได้ตั้งแต่แรกเริ่มและวางแผนเวลาได้ดีขึ้น ในขณะที่ผู้จัดการก็สามารถมองเห็นภาพรวมมุมกว้างว่าสมาชิกทีมแต่ละคนกำลังทำอะไร นอกจากนี้ การตั้งค่าการแจ้งเตือนทันทีเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็ยังช่วยให้สามารถบริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง